AIS เปิดตัว E-Waste+ แพลตฟอร์มจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์แบบยั่งยืน ด้วยเทคโนโลยี Blockchain และโครงข่ายอัจฉริยะ รายแรกของ SEA !!!

โดย J.wasan
0 ความเห็น 17.7K views

ในประเทศไทย AIS เป็นองค์กรแรก ๆ ที่มองเห็นความสำคัญในเรื่องการจัดการปัญหา E-Waste มาอย่างต่อเนื่อง โดยได้ผลักดันการบริหารจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Waste ) พร้อมเป็นศูนย์กลางของการรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี และไม่เกิดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมผ่านโครงการ คนไทยไร้ E-Waste มาตั้งแต่ปี 2019 จนถึงปัจจุบัน และที่ผ่านมา AIS ได้ร่วมมือกับทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานของรัฐ, เอกชน, และประชาชนทั่ว ๆ ไป ในการสร้างความตระหนักรู้ผ่านการสื่อสาร กิจกรรม และโครงการต่าง ๆ ส่งผลให้สามารถเก็บ E-Waste เข้าสู่กระบวนการจัดการที่ถูกต้องตามมาตรฐานสากล

โดยข้อมูลล่าสุดของเดือนตุลาคม 2565 เอไอเอสได้ร่วมมือกับพารท์เนอร์ในการจัดการกับขยะ E-Waste กว่า 142 ราย มีจุดทิ้งขยะ E-Waste จำนวน 2,484 จุดทั่วประเทศ และสามารถนำขยะอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่กระบวนการจัดการที่ถูกต้องตามมาตรฐานไปแล้วกว่า 397,376 ชิ้น

ความสำเร็จของแคมเปญและโครงการ “คนไทยไร้ E-Waste” ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา

  • ร่วมรณรงค์รับทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ E-Waste จากหน่วยงานและประชาชนตลอดเส้นถนนพหลโยธิน
  • บอกเล่าคุณค่า E-Waste ผ่านต้นคริสต์มาสที่ทำจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ 
  • เอไอเอสขยายจุดรับทิ้ง E-Waste ที่ศูนย์การค้า 34 แห่งและอาคารสำนักงาน
  • ดึงพลังพนักงานกว่า 20,000 คน ร่วมปฏิบัติการ “คนไทยไร้ E-Waste”
  • ชูต้นแบบภาคีเครือข่ายเพื่อสิ่งแวดล้อม กำจัดขยะ E-Waste อย่างถูกวิธี
  • เอไอเอส E-Waste ทิ้งรับพอยท์” มอบสิทธิพิเศษสุดยิ่งใหญ่
  • ทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ แล้วมาลุ้นรับสมาร์ทโฟน 5G เครื่องใหม่ 
  • คนไทยไร้ E-Waste สู่วาระแห่งชาติ พร้อมขยายจุดรับทิ้งทั่วประเทศ
  • ฝากทิ้ง E-Waste กับพี่ไปรษณีย์ 
  • เอไอเอส เดินกลยุทธ์ดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ 
  • เอไอเอส สานต่อภารกิจแก้ไขปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ต่อเนื่อง
  • เอไอเอส ผนึก ธนาคารออมสิน กำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างยั่งยืน
  • เก็บตัวได้…แต่อย่าเก็บ E –Waste

 

โครงการเหล่านี้เป็นแค่ตัวอย่างบางส่วน ซึ่งยังมีแคมเปญและโครงการอื่น ๆ อีกมากมาย รวมถึงโครงการต่าง ๆ ที่จะมีออกมาอย่างต่อเนื่องในอนาคตข้างหน้า ซึ่งตอกย้ำความมุ่งมั่นตั้งใจของเอไอเอสในการผลักดันให้เกิดความตระหนักรู้ และให้ทุกภาคส่วนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการกับขยะ E-Waste ในแบบยั่งยืน

ล่าสุดเอไอเอสได้ยกระดับการบริหารจัดการกับขยะ E-Waste ขึ้นไปอีกขั้น ด้วยการนำเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) ผสานเข้ากับศักยภาพโครงข่ายอัจฉริยะซึ่งเป็นจุดแข็งของเอไอเอส ในการสร้างระบบนิเวศใหม่บนแพลตฟอร์ม E-Waste+ ซึ่งจะช่วยให้จัดการกับขยะ E-Waste ได้ง่ายขึ้น และข้อดีของ E-Waste+ ก็คือเป็นการพัฒนากระบวนการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ตั้งแต่ผู้ทิ้งจนถึงโรงงานรีไซเคิล และยังสามารถคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ได้จากการรีไซเคิล E-Waste จากความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกต้องตามมาตรฐานสากล

สำหรับจุดอ่อนของการแก้ปัญหา E-Waste ที่ผ่านมา ต้องยอมรับเลยว่าประชาชนทั่วไปยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง รวมถึงความพร้อมในการเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อจัดการกับขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี ซึ่งการที่เอไอเอสนำแพลตฟอร์ม E-Waste+ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาการทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบที่เข้าถึงได้ง่ายยิ่งขึ้น ส่งผลให้ประชาชนทั่วไป รวมถึงองค์กรต่าง ๆ สามารถลงมือบริหารจัดการ E-Waste ภายในองค์กรเองได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านเครือข่ายพนักงานและลูกค้าของแต่ละองค์กร อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มความมีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการนำขยะ E-Waste กลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลที่ได้มาตรฐาน โดยหลักการทำงานของ E-Waste+ จะทำงานผ่านกระบวนการ Track and Trace ทำให้ขยะ E-waste ทุกชิ้น สามารถตรวจสอบสถานะได้ทั้งกระบวนการ จากนั้นจะคำนวณขยะ E-Waste ที่ได้ออกมาเป็น Carbon Scores เพื่อให้ทราบว่าเราช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่าไหร่ 

นอกจากนี้เอไอเอสยังได้นำร่องการแก้ปัญหาการทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ในแบบยั่งยืน ด้วยการร่วมมือกับพาร์ทเนอร์หลากหลายองค์กร ในการนำแพลตฟอร์ม E-Waste+ เข้าไปสร้างมาตรฐานการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างโปร่งใสและเปี่ยมไปด้วยประสิทธิภาพ โดยเบื้องต้นพันธมิตรเครือข่าย Green Partnership ทั้ง 6 องค์กรที่จะนำแพลตฟอร์ม E-Waste+ ไปจัดการบริหารการทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบไปด้วย บริษัท เด็นโซ่ อินเตอร์เนชั่นแนล เอเชีย จำกัด, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, บริษัท เงินติดล้อ จำกัด, ธนาคารออมสิน และธนาคารกสิกรไทย โดย AIS ยังมีแผนพัฒนาให้ Carbon Scores ที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการขยะ E-Waste อย่างถูกต้อง นำไปใช้เป็น Utility Token ที่จะช่วยต่อยอดธุรกิจให้กับองค์กรพันธมิตรที่เข้าร่วมโครงการนี้อีกด้วย

 

บทสรุป

เพราะ E-Waste คือขยะอันตราย ถ้าทิ้งไม่ถูกที่ และกำจัดอย่างไม่ถูกวิธี ก็จะส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ โดยที่ผ่านมาเอไอเอสทำเรื่องนี้เป็นรายแรกในอุตสาหกรรมตั้งปี 2019 จนถึงปัจจุบัน และมีความตั้งใจผลักดันให้ ภารกิจ คนไทยไร้ E-Waste ก้าวเข้าสู่วาระสำคัญของชาติ ซึ่งไม่ได้เป็นแค่กิจกรรมเพื่อสังคมเท่านั้น แต่การที่เอไอเอสพร้อมเป็น HUB ด้านองค์ความรู้ การจัดการอย่างถูกวิธี และรับอาสารวบรวมขยะอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลและกำจัดตามมาตรฐานสากล พร้อมร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการจัดการปัญหาอิเล็กทรอนิกส์ในแบบยั่งยืน ผ่านแพลตฟอร์มใหม่ล่าสุด E-Waste+ ที่ยกระดับการแก้ปัญหาการทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ขึ้นไปอีกขั้น พร้อมก้าวผ่านข้อจำกัดเดิม ๆ ในการแก้ปัญหาด้วยการนำศักยภาพโครงข่ายอัจฉริยะกับเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) มา Redesign Ecosystem หรือพัฒนากระบวนการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ตั้งแต่ผู้ทิ้งจนถึงโรงงานรีไซเคิล เพื่อให้ทุกคนสามารถจัดการขยะ E-Waste ได้ง่ายขึ้น

ซึ่งการนำศักยภาพด้านดิจิทัลเทคโนโลยีที่ถือว่าเป็นจุดแข็งของเอไอเอส มาพัฒนาให้เกิดนวัตกรรมใหม่ในการจัดการปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้ดียิ่งขึ้น จึงเป็น
การช่วยให้ปัญหามลภาวะที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนไทยและการสูญเสียทรัพยากรที่มีค่าไปโดยสูญเปล่าลดลงอย่างเป็นรูปธรรม สามารถจับต้องได้ และเป็นการตอกย้ำถึงเจตนารมณ์อย่างแรงกล้า ที่ทางเอไอเอสพร้อมจะอุทิศตนเพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาสังคมให้มีความสุขจากสภาพแวดล้อมที่ดี อันจะนำมาซึ่งความแข็งแกร่ง และเติบโตอย่างยั่งยืนของประเทศชาติอีกทางหนึ่งด้วย

 

Facebook Comments

Related Posts