เมื่อปี 2565 ที่ผ่านมา เอไอเอสได้ประกาศวิสัยทัศน์ในการทรานฟอร์มจาก Digital Life Service Provider มาสู่ความเป็น Cognitive Tech-Co หรือองค์กรอัจฉริยะ ที่ไม่ได้เน้นในการแข่งขันด้านโครงข่ายรวมถึงโซลูชั่นและการให้บริการแบบเดิม ๆ อีกต่อไป โดยเอไอเอสมีความมุ่งมั่นที่จะก้าวเข้ามาสู่ความเป็นองค์กรอัจฉริยะ เพื่อก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ ด้าน และพร้อมยกระดับจากการเป็นผู้ให้บริการโครงข่าย มาเป็นองค์กรที่สามารถพัฒนาหรือนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาผสานจุดแข็งขององค์กร เพื่อให้สามารถตอบโจทย์ในด้านการให้บริการได้ดียิ่งขึ้น โดยมีหัวใจหลักก็คือการดูแลลูกค้า ซึ่ง ณ ปัจจุบันเอไอเอสมีลูกค้ากว่า 46 ล้านเลขหมาย และพร้อมที่จะ provide ด้านดิจิตอลเซอร์วิสต่าง ๆ ไปให้คนไทยทุกคนเข้าถึงได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าทั่ว ๆ ไป รวมถึงลูกค้าองค์กร ได้สามารถใช้ชีวิตทั้งในด้านส่วนตัวและการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
เป้าหมายของการเป็น Cognitive Tech-Co หรือองค์กรอัจฉริยะ ถ้าจะอธิบายให้เห็นเป็นภาพง่าย ๆ ก็เปรียบเสมือนการสร้างบ้านหลังหนึ่ง โดยมีเสาของบ้านเป็นแกนหลัก รวมถึงยังเป็นพื้นฐานที่สามารถสร้างความมั่นคงแข็งแรงให้กับตัวบ้าน โดยเสาของบ้านก็คือการนำธุรกิจที่เป็นจุดแข็งของเอไอเอสเข้ามาเป็น 4 เสาหลัก เพื่อผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในหลากหลายมิติ
โดยเสาแรกก็คือ MOBILE ที่ไม่ต้องสงสัยเลย เพราะเอไอเอสยังคงครองตำแหน่งเบอร์หนึ่งของธุรกิจนี้ ตั้งแต่การก้าวเข้ามาทำธุรกิจตลอด 33 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเอไอเอสก็ยังคงแข็งแกร่ง และยังคงเป็นเบอร์หนึ่งมาโดยตลอดจนถึง ณ ปัจจุบัน
ส่วนเสาที่สอง จะเห็นได้ว่าในช่วง 7-8 ปีที่ผ่านมา เอไอเอสได้ก้าวเข้าสู่ธุรกิจ FIXED BROADBAND และมีการเติบโตแบบก้าวกระโดด เพราะสามารถยึดมาร์เก็ตแชร์และก้าวขึ้นมาเป็นผู้ให้บริการ FIXED BROADBAND ในอันดับ 3-4 ของตลาดได้เร็วมาก ๆ ต้องบอกเลยว่าประสบความสำเร็จแบบเกิดคาด โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับเจ้าตลาดที่อยู่ในธุรกิจนี้มามากกว่า 20-30 ปีนั่นเอง และล่าสุดเอไอเอส มีแพลนที่จะควบรวมกิจการกับค่าย 3BB ผ่านดีลที่สะอาดและโปร่งใส และคาดการณ์ว่าเมื่อเกิดการควบรวมกันแล้ว เอไอเอสจะก้าวขึ้นมาเป็นผู้เล่นรายใหญ่ และส่งผลดีต่อการแข่งขันในตลาด FIXED BROADBAND อย่างแน่นอน
สำหรับเสาที่ 3 ENTERPRISE BUSINESS ที่เอไอเอสลงทุนด้านโครงข่าย 5G ในโมเดลที่ใหญ่มาก ๆ ซึ่งทางเอไอเอสมีความมุ่งมั่นที่จะส่งมอบโครงข่าย 5G ไปยังผู้ใช้งานทั่วไป รวมถึงภาคอุตสาหกรรมเพื่อให้เกิดประโยชน์ในการใช้งานสูงสุด เพราะเทคโนโลยี 5G นั้นคือเทคโนโลยีแห่งอนาคตที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้ทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง
ปิดท้ายกันไปด้วยเสาที่ 4 DIGITAL SERVICE ที่เอไอเอสให้ความสำคัญมาโดยตลอด แต่จะเป็นการทำแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยเน้นไปในทิศทางที่ลูกค้าต้องการ และที่สำคัญคือการเข้าไปทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์อย่างใกล้ชิด เพื่อให้สามารถสร้าง DIGITAL SERVICE ในแบบที่สามารถตอบโจทย์การใช้งานของลูกค้าที่มีความหลากหลาย ทั้งลูกค้าทั่วไปรวมถึงลูกค้าองค์กร
เศรษฐกิจแบบร่วมกัน ECOSYSTEM ECONOMY
นี่คือวิศัยทัสน์ของปี 2566 ที่เอไอเอส มีแนวคิดในการที่จะสร้างการเติบโตและเปลี่ยนแปลงให้เศรษฐกิจของเมืองไทย ผ่านนวัตกรรมโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลที่มีความอัจฉริยะ บนโครงข่าย 5G และเน็ตบ้านที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ โดยแนวคิดเศรษฐกิจแบบร่วมกัน หรือ ECOSYSTEM ECONOMY ด้วยการผสานความร่วมมือข้ามอุตสาหกรรมร่วมกับผู้ประกอบการ ผ่าน 3 แกนหลัก ที่พร้อมส่งมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าและคนไทย โดยประกอบไปด้วย
· Digital Intelligence Infrastructure: พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลอัจฉริยะ จากโครงข่าย 5G และเน็ตบ้าน พร้อม 5G Platform เพื่อภาคอุตสาหกรรม ด้วยการลงทุนในปีนี้ที่ 27,000 – 30,000 ล้านบาท
· Cross Industry Collaboration: เชื่อมต่อธุรกิจข้ามอุตสาหกรรม พร้อมร่วมมือกับผู้ประกอบการรายย่อยกว่า 1.8 ล้าน ร้านค้าทั่วประเทศ สร้างการเติบโตไปด้วยกัน พร้อมประโยชน์เพื่อลูกค้า
· Human Capital & Sustainability: ยกระดับขีดความสามารถของ Digital Talent และคนไทยผ่าน Education Platform รวมถึงส่งเสริมความรู้ทักษะดิจิทัลสร้างภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์
การทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ทุกภาคส่วน ในรูปแบบข้ามอุตสาหกรรม Cross Industry
ในส่วนของความร่วมมือข้ามอุตสาหกรรม ปีนี้เราจะได้เห็นการจับมือเป็นพาร์ทเนอร์ในหลากหลายมิติจากทุกภาคส่วน ในรูปแบบข้ามอุตสาหกรรมหรือ Cross Industry ตั้งแต่ระดับท้องถิ่นไปจนถึงระดับโลกเพื่อสร้างการเติบโตร่วมกัน ยกตัวอย่างเช่น
การเปิดตัวซัมซุงสมาร์ตทีวี ที่มาพร้อมแพ็กเกจ AIS Fiber ความเร็ว 1Gbps / 1Gbps ในราคาเพียง 1,299 บาท สามารถรับชมคอนเทนต์บนสมาร์ตทีวีความคมชัดระดับ 4K- Full HD
เอไอเอสร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ระดับโลกในการนำเสนอเทคโนโลยีอันล้ำสมัย ล่าสุดเอไอเอสและ ZTE เปิดตัว Tablet สามมิติ Nubia Pad 3D ที่ทำงานด้วยเทคโนโลยี AI รุ่นแรกของโลก สามารถดูคอนเทนต์แบบ 3 มิติ แบบเสมือนจริง โดยไม่ต้องสวมอุปกรณ์เสริมแต่อย่างใด
หรือแม้แต่การนำเสนอบริการทางการเงินร่วมกับสถาบันทางการเงิน อย่าง UOB กับบริการ UOB Best Buy เพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงการใช้งานจากสมาร์ตโฟน 5G ได้อย่างง่ายดายยิ่งขึ้น
และยังมอบเซอร์ไพส์ด้วยความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ในกลุ่ม Content Provider ทั้งระดับประเทศและระดับโลกมาให้คนไทยได้ได้รับชมสุดยอดคอนเทนต์ไม่ว่าจะเป็น Disney+ Hotstar, NETFLIX, 3Plus, MONOMAX ในราคาเบา ๆ ที่เข้าถึงได้ง่าย
นอกจากนี้ เอไอเอสยังมีความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์อีกมากมาย ทั้งในด้านการศึกษาที่ล่าสุด AIS Academy ได้มีโอกาสทำงานร่วมกัน สถานทูตแคนาดาประจำประเทศไทย และสมาคมวิทยาลัยและสถาบันประเทศแคนาดา หรือ Colleges and Institutes Canada (CICan) ในการนำหลักสูตรการเรียนรู้จากสถาบันชั้นนำของประเทศแคนาดาเสมือนการนำโลกไร้พรมแดนมาให้คนไทยและลูกค้าได้เรียนรู้และพัฒนาตัวเอง รวมถึงการส่งเสริมทักษะดิจิตอลให้คนไทยรู้เท่าทัน และพร้อมอยู่กับโลกดิจิทัลได้อย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ ผ่านโครงการ AIS “อุ่นใจ CYBER” ที่มีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตลอดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
บทสรุป
วิสัยทัศน์ในการก้าวพาองค์กรจาก Digital Life Service Provider มาสู่ความเป็น Cognitive Tech-Co หรือองค์กรอัจฉริยะ ปีนี้เราจะเห็นได้ว่ามี 4 แกนหลักประกอบไปด้วย MOBILE, FIXED BROADBAND, ENTERPRISE BUSINESS และ DIGITAL SERVICE ซึ่งเมื่อรวมกับแนวคิด เศรษฐกิจแบบร่วมกัน ECOSYSTEM ECONOMY ที่ผสานความร่วมมือข้ามอุตสาหกรรมจากผู้ประกอบการผ่านนวัตกรรมโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลที่มีความอัจฉริยะ บนโครงข่าย 5G และเน็ตบ้านที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ส่งผลให้เอไอเอส สามารถส่งมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดในทุกด้านให้กับลูกค้า ทั้งในแง่เทคโนโลยีและการให้บริการที่เหนือระดับ ภายใต้การทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ทุกภาคส่วน สอดประสานการทำงานโดยใช้จุดแข็งของแต่ละฝ่ายมาสร้างการเติบโตร่วมกันให้กับลูกค้า คนไทย และประเทศชาติในแบบยั่งยืน”