งานแสดงวิสัยทัศน์หรือ AIS VISION ของทุก ๆ ปีจะมีการจัดแสดงนิทรรศการที่รวบรวม นวัตกรรม โซลูชั่น และเทคโนโลยีชั้นนำ ให้ผู้เข้างานได้รับชมกันอย่างตื่นตาตื่นใจ และในปีนี้ก็เช่นกันที่ทางเอไอเอส ขนโซลูชั่นมาโชว์แบบจัดเต็มมาก ๆ ทั้ง Artificial Intelligence, Machine Learning, Robotic, IoT และ 5G ที่ถือว่าเป็นไฮไลท์หลักของงาน โดยวันนี้ทาง ibelieveit จะพาไปชมบรรยากาศภายในงานและบูธไฮไลท์ที่น่าสนใจของ Exhibition Zone กันครับ
บรรยากาศในภาพรวมต้องบอกว่าช่วงเช้าคนเยอะและแน่นมาก ๆ พอตกบ่ายจะเดินสบาย ๆ หน่อย สำหรับ “นิทรรศการเทคโนโลยี งาน AIS Digital Intelligent Nation 2019” เป็นการจัดแสดงนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลทีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งจะช่วยเปิดมุมมองความรู้และประสบการณ์ใหม่ ๆ ในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีแห่งอนาคต เพื่อให้ภาคธุรกิจ ภาคเอกชน และคนไทยทุกคน พร้อมรับมือกับเทคโนโลยีแห่งโลกอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยประกอบด้วย 4 โซนจัดแสดง ดังนี้
I. NETWORK AND INNOVATION
II. CORPORATE AND IoT ZONE
III. E-SPORTS ZONE
IV. Cyber Wellness and Online Safety Zone
ไฮไลท์หลักของงานก็คงหนีไม่พ้น 5G โดยปีนี้ทางเอไอเอสเริ่มทดลองไปบ้างแล้ว และล่าสุดได้จับมือร่วมกับ วิศวะ จุฬา ภายใต้การสนับสนุนจาก กสทช. ในการเปิดตัว 5G Garage Innovation LAB เพื่อเป็นพื้นที่ให้นิสิต นักศึกษา รวมถึงนักพัฒนา ใน 5G Ecosystem ได้เข้ามาใช้ 5G Garage Innovation LAB เป็นพื้นที่ทดลอง ทดสอบ เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรม 5G ในการพัฒนาประเทศ
บูธ 5G x Nokia เป็นความร่วมมือระหว่างเอไอเอสและพาร์ทเนอร์ระดับโลก Nokia โดยเป็นการทดสอบศักยภาพเทคโนโลยี 5G ซึ่งที่บูธนี้จะเป็นการทดสอบ “5G Ultra Low Latency – Cooperative Cloud Robots”
การสาธิตความหน่วงของเครือข่าย 5G โดยการใช้หุ่นยนต์สองตัวในการหาจุดสมดุลที่ทำให้ลูกบอลอยู่กึ่งกลาง การสาธิตแสดงเวลาที่หุ่นยนต์ใช้ในการหาจุดสมดุลผ่านการสื่อสารระหว่างกันโดยใช้เครือข่าย 4G เปรียบเทียบกับเครือข่าย 5G ซึ่งจะทำให้เราเห็นประสิทธิภาพความแตกต่างของเครือข่ายระหว่าง 4G กับ 5G ได้อย่างชัดเจน
อักมุมหนึ่งจะเป็นการทดสอบ “5G Collaborative Car Factory” การสาธิตการตอบสนองที่แตกต่างของระดับความหน่วงหลายระดับต่างๆ เนื่องจาก 5G มีค่าความหน่วงที่ต่ำกว่า จึงตอบสนองได้รวดเร็วกว่า โดยการสาธิตผ่าน VR Car Factory demo ที่ผู้เล่นสามารถลองประกอบเครื่องยนต์ของรถยนต์เสมือนอยู่ในโรงงานจริงๆ แบบ Real Time
• 5G AR Digital Rubik’s Cube
แสดงการตอบสนองของเกมส์รูบิค ผ่านเครือข่าย5G เพื่อแสดงการตอบสนองที่เร็วกว่า โดยผู้เล่นสามารถหมุนโมเดล Rubik จำลอง ข้อมูลจะถูกส่งผ่านและแสดงบนโมเดล Rubik บนจอแบบ Real Time
• 5G VR Football Penalty Kick Game
การสาธิตความหน่วงของเครือข่าย 5G โดยเกมส์การเตะลูกโทษฟุตบอล ระหว่างผู้เล่นที่เป็นนักเตะกับผู้รักษาประตูเสมือนจริงในเกมส์ เทียบระหว่างการเตะบนเครือข่าย 4G และ5G เพื่อแสดงการตอบสนองที่แตกต่าง เนื่องจาก 5G มีค่า Latency ที่ต่ำกว่า จึงตอบสนองได้รวดเร็วกว่า ทำให้โอกาสในการทำประตูบนเครือข่าย 5G เป็นไปได้มากกว่า
อีกหนึ่งบูธไฮไลท์ของงาน WiFi 6 (WiFi 802.11ax)
- Wi-Fi 6 คือ Wi-Fi มาตรฐานใหม่ที่กำหนดโดย Institute of Electrical and Electronics Engineers (IEEE) เป็น Wi-Fi ที่มีประสิทธิภาพดีกว่า เสถียรกว่า และประหยัดพลังงานกว่า มีประสิทธิภาพในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ IoT ต่างๆ ได้ โดย AIS ได้นำระบบ Wi-Fi 6 มาให้สัมผัสเป็นรายแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จุดเด่นของ WiFi 6
- 1. เพิ่มความเร็วในการใช้งานสูงสุดจาก 650 Mbps (Wi-Fi 5) ไปเป็น 4.8 Gbps (Wi-Fi 6)
- 2. ช่วยบริหารจัดการความถี่ได้ดีขึ้น ทั้งย่าน 2.4 GHz และ 5 GHz สำหรับอุปกรณ์ปัจจุบัน และ IoT
- 3. เพิ่มความเสถียรในพื้นที่ที่มีการใช้งานหนาแน่น เช่น ในห้างสรรพสินค้า สนามกีฬา หรือ คอนเสิร์ตฮอลล์
- 4. เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน ทำให้ประหยัดแบตเตอรี่ของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ
ทั้งนี้ AIS จะเปิดให้ลูกค้าสัมผัสประสบการณ์ Wi-Fi 6 ที่ AIS DC ภายในปี 2019 โดยอุปกรณ์ทั่วไปในท้องตลาดจะเริ่มรองรับมาตรฐาน Wi-Fi 6 ในปี 2020
ส่วน Next G หลังจากเปิดตัวมาได้สักพักใหญ่ ๆ หลายคนน่าจะคุ้นเค้ยกันเป็นอย่างดีแล้ว และล่าสุดสามารถใช้งานได้ทั้งบนระบบปฏิบัติการ Android และ iOS เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
Cloud VR Go Kart
เป็นการจัดแสดงศักยภาพของ 5G ที่สามารถนำมาใช้กับ Cloud VR ทำให้เกิดมิติใหม่ของการเล่นเกม MX (Mixed Virtual Reality) ที่ผู้ใช้งานได้ประสบการณ์การขับรถ Go Kart บนโลกเสมือนจริง สามารถจัดแสดงขึ้นจอแสดงผลอย่าง Real Time โดยไม่จำเป็นต้องมีการเชื่อมต่อกับสายเคเบิลใดๆ เนื่องจากศักยภาพของ 5G บนพื้นที่ Cloud ทำให้เล่นเกมสนุกตื่นเต้นมากยิ่งขึ้น
บูธนี้นำเสนอ นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลที่นำมาใช้ยกระดับการให้บริการของสนามบินได้จริงแล้ว เพื่อก้าวสู่การเป็นสนามบินอัจฉริยะ อาทิ
• VDO Analysis Solution
ยกระดับความปลอดภัยให้กับผู้ใช้งานในสนามบินด้วยระบบ Facial Recognition แจ้งเตือนทันทีเมื่อตรวจพบบุคคลต้องสงสัย และระบบ Unattended Object Detection ตรวจสอบวัตถุต่างๆ ในสนามบินและแจ้งเตือนเมื่อพบสิ่งผิดปกติ
Utapao Mobile App
แอปพลิเคชันสำหรับผู้เดินทางผ่านสนามบินอู่ตะเภา โดยจะแสดงข้อมูลด้านการบินและสนามบินแบบครบครันในแอปฯ เดียว เช่น Flight Info เมนูแสดงข้อมูลตารางการบินทั้งเที่ยวบินภายในประเทศและเที่ยวบินต่างประเทศ, My Flight เมนูที่แสดงข้อมูลการบินของผู้โดยสาร พร้อมแสดงการแจ้งเตือนเวลาที่เหลือก่อน Boarding และจะเปลี่ยนสีที่แสดงในกรณี Final Call พร้อมแสดงแถบข้อความ Tap here for free Wifi@U-Tapao เมื่อคลิกที่แถบจะเปิด Pop up ให้เชื่อมต่อ Wifi เป็นต้น
Smart Living
โซนนี้โชว์นวัตกรรมโซลูชันที่คิดค้นมาเพื่อยกระดับการใช้ชีวิตในการอยู่อาศัยภายในบ้านที่ดียิ่งกว่า อาทิ
• Home automation & Home security ควบคุมระบบต่างๆ ภายในบ้านได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต พร้อมระบบรักษาความปลอดภัยที่ช่วยดูแลคนในบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ
• Smart Hygienic โซลูชันที่จะช่วยดูแลคุณภาพอากาศภายในบ้านให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับทุกคนในครอบครัว พร้อมควบคุมการระบายอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ
• Family care (Human Tracking) ทำงานบนนวัตกรรมเครือข่าย AIS NB-IoT แสดงตำแหน่งของสมาชิกในครอบครัวบนแอปฯ มือถือ เพื่อช่วยดูแลบุตรหลานของท่านไม่ให้คลาดสายตา พร้อมปุ่ม SOS ที่ใช้ส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝัน เป็นต้น
กล่องตู้ยาที่ผสานเทคโนโลยีในการอำนวยความสะดวกเข้าไปอย่างลง
สำหรับผู้ป่วยที่ต้องเดินทางไปรับยาตามที่หมอนัด บางทีอาจจะไม่สะดวกทั้งเเรื่องของเวลารวมไปถึงระยะทาง ปัญหาตรงนี้จะหมดไป ด้วยกล่องตู้ยาอัฉริยะ ที่จะมีการนำไปจัดตั้งไว้ตามแหล่งชุมชนใกล้ ๆ บ้าน เช่นที่ อบจ. อบต ฯลฯ ผู้ป่วยสามารถรับยาของตนเองด้วยการระบบยืนยันตัวตน (สแกนใบหน้า) และยังสามารถวีดีโอคอลกับแพทย์ได้อีกด้วย ถือว่าเป็นแนวคิดที่ดี สำหรับพื้นที่อยู่ห่างจากโรงพยาบาลมาก ๆ
Network Educator
เราพูดถึง EQ หรือพัฒนาการทางด้านอารมณ์กันมาหลายปีแล้ว แต่ในปัจจุบันทั้ง IQ และ EQ ยังไม่เพียงต่อพัฒนาการของเด็กอีกต่อไป ทางเอไอเอสจึงได้ร่วมมือกับ DQ Institute เพื่อช่วยเตรียมความพร้อมและสร้างรากฐานในการใช้อินเทอร์เน็ตตั้งแต่เด็กด้วยชุดการเรียนรู้ 360 องศา
“DQ Intelligence” เป็นการพัฒนาทักษะและความฉลาดด้านดิจิทัลให้กับเด็กๆ วัย 8-12 ปี ใน 8 ด้าน ได้แก่
อัตลักษณ์ (Digital Citizen Identity),
ยับยั้งชั่งใจ (Screen Time Management),
เมื่อถูกรังแกออนไลน์ (Cyberbullying Management),
ใจเขา-ใจเรา (Digital Empathy),
ท่องเน็ตอย่างปลอดภัย (Cyber Security Management),
คิดเป็น (Critical Thinking),
รู้ถึงผลที่จะตามมา (Digital Footprints)
รู้สิทธิและความเป็นส่วนตัว (Privacy Management)
พัฒนาโดยทีมงานนักวิชาการจาก Nanyang Technological University ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งได้รับความเชื่อถือและถูกนำไปใช้สอนเยาวชนในประเทศต่างๆ กว่า 30 ประเทศทั่วโลก และนี่คือการเปลี่ยนแปลงใหม่ เพราะการมี IQ และ EQ คงไม่เพียงพออีกต่อไป แต่เด็กจะต้องมี DQ เพื่อพร้อมรับมือกับยุคดิจิทัลอย่างชาญฉลาด
5G Autonomous Car Lab
รถยนต์ไร้คนขับ (Autonomous Car) ที่ได้มีการศึกษาและทดลองอย่างจริงจังร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และเอไอเอส โดยรถยนต์สามารถเดินทางจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งได้อย่างแม่นยำและปลอดภัยผ่านการใช้งานบนระบบโครงข่ายของเอไอเอส ให้รถยนต์สามารถเคลื่อนที่, สื่อสารกับ Smart pole, หยุดเมื่อเจอ สิ่งกีดขวาง และพาตัวเองไปชาร์จพลังงานไฟฟ้าได้ด้วยตัวเอง โดยคาดว่าการทดลองและวิจัยดังกล่าวจะสามารถพัฒนานำไปประยุกต์ใช้ในสถานะการณ์ต่างๆที่เป็นประโยชน์อย่างมากกับประเทศในอนาคต
ชุดอุปกรณ์ที่ติดตั้งภายในรถยนต์
Robot Mini Cargo
หุ่นยนต์อัจฉริยะที่ทำงานผ่านระบบ 5G สามารถมาช่วยให้การเดินเอกสาร, ส่งของต่างๆ ในอาคาร เป็นไปได้อย่างง่ายดาย ตามตำแหน่งเป้าหมายที่ระบุ สามารถหลบหลีกสิ่งกีดขวางได้โดยอัตโนมัติ และการเคลื่อนที่กลับมาตำแหน่งชาร์จพลังงานโดยอัตโนมัติ โดยจะมีการทดลองใช้หุ่นยนต์ Mini Cargo ในบริเวณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
AIS Secure Net
ระบบช่วยกรองการใช้งานอินเทอร์เน็ตเพื่อเข้ามาตอบโจทย์การใช้งานของลูกค้าให้มีความมั่นใจและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งแอปพลิเคชั่นใดๆ ช่วยกรอง URL หรือ Website ที่ไม่เหมาะสม (Web Filtering) รวมถึงป้องกันไวรัสและมัลแวร์จากการใช้งาน URL หรือแอปพลิเคชันที่เป็นอันตราย พร้อมระบบแจ้งเตือนและบล็อกเมื่อระบบพบว่าลูกค้ากำลังกดใช้งาน URL หรือ website ดังกล่าว โดยระบบจะส่งรีพอร์สของลิงค์หรือ URL ที่ถูกบล็อกแสดงแก่ลูกค้าเป็นรายสัปดาห์หรือรายเดือน เพื่อให้ลูกค้าสามารถ customized การกรองเว็บไซต์ได้เองในอนาคต นอกจากนี้ ยังสามารถควบคุมการใช้งานอินเทอร์เน็ตของบุตรหลานได้ โดยการผูกความสัมพันธ์ด้วยเบอร์ (MSISDN) เพื่อกำหนดปริมาณและช่วงเวลาการใช้งานได้
E-Waste
AIS ตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Waste) อย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาด้านชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะส่งผลเสียในระยะยาว เราจึงสร้างองค์ความรู้และรวบรวม E-Waste ร่วมกับพันธมิตร เพื่อนำเข้าสู่การกำจัดอย่างถูกวิธีและยั่งยืน โดยพัฒนา E-Waste Smart Bin ถังขยะอัจฉริยะที่ติดตั้งอุปกรณ์ IoT ให้สามารถจำแนกขยะอิเล็กทรอนิกส์ออกจากขยะธรรมดาได้ พร้อมส่งข้อมูลจำนวนขยะอิเล็คทรอนิคส์ที่รวบรวมได้ขึ้นเว็บไซต์ www.ewastethailand.com ผ่าน cloud network และคำนวณค่า CO2 ที่ลดลงได้จากขยะอิเล็คทรอนิคส์ที่เข้าสู่กระบวนการจัดการอย่างถูกวิธี เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นของทุกคนและลดปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ตกค้างในประเทศไทย
Smart Glass
แว่นตาอัจฉริยะ ที่สามารถจดจำข้อมูลที่บันทึกไว้ในพื้นที่การจัดเก็บข้อมูลบน Cloud ไม่ว่าจะเป็น ใบหน้า, ทะเบียนรถ แว่นตาสามารถแจ้งได้ทันทีเมื่อเจอใบหน้าหรือทะเบียนรถที่บันทึกข้อมูลไว้ในระบบ ในประเทศจีนมีการใช้แว่นตาอัจฉริยะดังกล่าวเพื่อระบุใบหน้าหรือทะเบียนรถที่มีข้อมูลเชื่อมโยงกับประวัติอาชญากรรมและตรวจสอบทะเบียนรถปลอม
AIS Robot
ตื่นตาไปกับทีม AIS ROBOT หุ่นยนต์สมองกล ที่จะมาโชว์ขีดความสามารถการทำงานเป็นผู้ช่วยมนุษย์ได้อย่างน่าทึ่ง
- Lisa
หุ่นยนต์อัจฉริยะที่สามารถนำทางไปยังพิกัดได้อย่างแม่นยำ สามารถจดจำใบหน้าได้ ซึ่งในงานนี้ AIS ได้พัฒนาขีดความสามารถให้หุ่นยนต์ Lisa ทำหน้าที่เสมือนไกด์พาผู้เข้าชมงานเดินเยี่ยมชมบูธ โดยผู้เข้าชมงานสามารถกดเลือกบูธที่สนใจ จาก Directory ที่จัดแสดงบนหน้าจอหุ่นยนต์ได้
- Huco
หุ่นยนต์แขนกลอัจฉริยะที่มาพร้อมความสามารถในการตักป๊อปคอร์นอย่างคล่องแคล่ว หลังได้รับคำสั่งการหุ่นยนต์ด้วยกัน (Alex) โดยหุ่นยนต์ Huco เป็นหุ่นยนต์ Cobot (collaborative Robot) นวัตกรรมแบบสองแขนกล ถูกพัฒนาให้มีความยืดหยุ่น คล่องตัว มีความสามารถในการรับรู้ สามารถหยิบจับสิ่งของหรือชิ้นงานได้อย่างถูกต้องแม่นยำ รวมถึงถูกออกแบบให้ทำงานร่วมกับมนุษย์ได้ โดยเน้นถึงความปลอดภัยในการทำงานร่วมกัน
- Alex
นวัตกรรมหุ่นยนต์อัจฉริยะโดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) สามารถจดจำใบหน้า โต้ตอบ สนทนากับลูกค้า พร้อมให้ข้อมูลสินค้าและบริการกับลูกค้าได้ ซึ่งในปัจจุบัน หุ่นยนต์ Alex ได้เข้ามาทำงานร่วมกับพนักงานใน AIS SHOP ในสาขาต่างๆ แล้ว เพื่อช่วยยกระดับการให้บริการและสร้างประสบการณ์ดิจิทัลให้ลูกค้า
- IRB-120
จัดแสดงขีดความสามารถของหุ่นยนต์แขนกลที่สามารถควบคุมการทำงานระยะไกลผ่านเครือข่าย ซึ่งจะช่วยให้มนุษย์สะดวกสบายยิ่งขึ้นและไม่จำเป็นต้องลงไปในพื้นที่เสี่ยง โดยในครั้งนี้เป็นการสาธิตผ่านการเล่นเกมหยิบกล่องนำโชค โดยผู้เล่นจะสวมแว่น VR และใช้ Joy ควบคุมการทำงานของหุ่นยนต์เพื่อหยิบกล่องนำโชค ลุ้นรับของรางวัล
Smart Stadium
สนามกีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่จะใช้เทคโนโลยี 5G และอุปกรณ์ Internet of Things เพื่อนำมาใช้ในการบริหารจัดการพลังงานภายในสนามเพื่อให้เกิดความคุ้มค่า มีประสิทธิภาพและประหยัดพลังงานสูงสุด
ปิดท้ายกันไปด้วย NB – IoT Motor Tracker
หลาย ๆ โซลูชั่นที่นำเสนอในงาน บางส่วนยังเป็นเพียงแนวคิด บางส่วนยังอยู่ในช่วงทดลอง
แต่ในส่วนของ NB – ToT Motor Tracker เป็นโซลูชั่นที่สามารถใช้งานได้จริง และเตรียมวางจำหน่ายในช่วยปลายเดือนนี้
Motor Tracker เป็นอุปกรณ์ติดตามรถยนต์และสามารถป้องกันรถหายได้อีกด้วย ตัวกล่องติดตั้ง e-SIM จากค่าย AIS สามารถดูการเดินทางผ่านแอปพลิเคชั่นได้แบบเรียลไทม์ ป้องกันรถหายจากโจรกรรม สามารถส่งเสียงตือนผ่านทางสมาร์ทโฟนได้ทันทีที่มีการเคลื่อนไหวรถ
เป็นอุปกรณ์ที่น่าสนใจและเข้าถึงกลุ่มผู้ใช้งานครอบคลุม ทั้งผู้ใช้งานทั่วและผู้ประกอบการ สำหรับสนนราคาค่าตัวก็ไม่แรง ประมาณ 1,4xx บาท และมีแพลนวางจำหน่ายในช่วงปลายเดือน ก.พ. ศกนี้ ผ่านทาง AIS ช้อป และ AIS Store
สรุปส่งท้าย ต้องบอกว่าบูธภายในงานมีเยอะมากครับ อาจจะเดินไม่ทั่วเพราะติดภารกิจ แต่ในภาพรวม AIS จัดเต็มมาก ๆ โดยนำเสนอนวัตกรรม และโซลูชั่นมาให้ชมกันอย่างจุใจ ครอบคลุมทุกเทรนด์ที่มีอยู่และกำลังมาแรงในปัจจุบัน แน่นอนว่าไฮไลท์หลักก็คือ 5G ที่เอไอเอสหวังพลักดันเต็มรูปแบบ เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนไปพร้อมกับโซลูชั่นที่มีรองรับอยู่แล้วนั่นเอง และนอกจากนี้ 5G ยังจะช่วยยกระดับขีดความสามารถของอุตสาหกรรมต่างๆ ที่จะร่วมขับเคลื่อนประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
สำหรับการพาชมบูธในงาน AIS Digital Intelligent Nation 2019 ขอลากันไปแต่เพียงเท่านี้ พบกันใหม่ปีหน้าครับ