AIS Business เผย 5 กลยุทธ์ ก้าวสู่ Cognitive Telco พร้อมนำพาผู้ประกอบการทุกอุตสาหกรรมทรานส์ฟอร์มธุรกิจสู่ดิจิทัลแบบ 100%

โดย J.wasan
0 ความเห็น 12.4K views

หลังจากประสบความสำเร็จในฐานะผู้นำด้าน Digital Life Service Provider อันดับ 1 ที่มีคลื่นความถี่ในการให้บริการมากที่สุดรวม 1420 MHz และมีจำนวนผู้ใช้งานมากที่สุดกว่า 44.1 ล้านเลขหมาย (ณ สิ้นปี 2564) พร้อมขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยเทคโนโลยี 5G ที่ครบ 77 จังหวัดแล้วเป็นรายแรก ล่าสุดเอไอเอส ตั้งเป้าหมายในการทรานส์ฟอร์มสู่การเป็นองค์กรโทรคมนาคมอัจฉริยะ หรือ Cognitive Telco ผ่าน 5 กลยุทธ์หลัก พร้อมนำพาผู้ประกอบการทุกอุตสาหกรรมทรานส์ฟอร์มธุรกิจสู่ดิจิทัลแบบ 100%

ปีนี้ถือว่าเป็นก้าวสำคัญของ AIS Business ในการยกระดับประสิทธิภาพการทำงานของโครงข่ายด้วย Intelligent Network เพื่อก้าวสู่การเป็นองค์กรโทรคมนาคมอัจฉริยะ หรือ Cognitive Telco ส่งผลให้การทำงานมีความเข้มข้นมากขึ้นกว่าเดิม สำหรับความท้าทายของตลาดลูกค้าองค์กรธุรกิจ ณ ปัจจุบัน อาจจะไม่ได้ขึ้นอยู่กับการนำเสนอด้านเทคโนโลยีแต่เพียงอย่างเดียว แต่ปัจจัยหลักคือ ทำอย่างไรถึงจะสามารถเข้าไปตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าให้ได้มากที่สุดนั่นเอง

โดยโจทย์ของปีนี้ เอไอเอสตั้งเป้าผลักดัน Intelligent Network ซึ่งถือว่าเป็น  ‘คอร์ บิซิเนส’ ในการสร้างเน็ตเวิร์คที่ดีที่สุด เพื่อให้รองรับการใช้งานของลูกค้าทุกองค์กร ซึ่งปีที่ผ่านมา International Bandwidth ของเอไอเอสมีการเติบโตถึง 50% สะท้อนให้เห็นถึงความแข็งแกร่งและคุณภาพโครงข่ายที่เหนือกว่าคู่แข่ง รวมถึงการดึงศักยภาพของพาร์ตเนอร์ภายใต้ Digital Business Ecosystem ที่มีความสมบูรณ์แบบมากที่สุด ให้สามารถออกมาสร้างบริการและโซลูชันที่ตอบโจทย์การทำงานของทุกองค์กร และต้องการทรานส์ฟอร์มตัวเองตั้งแต่ภาคธุรกิจ SMEs ไปจนถึงระดับผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ

ในการที่จะนำพาผู้ประกอบการทรานส์ฟอร์มธุรกิจสู่ดิจิทัลแบบ 100% หนึ่งในปัจจัยที่สำคัญก็คือการวางโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลเทคโนโลยี หรือ Digital infrastructure โดยในแต่ละปีเอไอเอสใช้เม็ดเงินในการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานประมาณ 35,000 ล้านบาท ในการพัฒนาและ Enhance ทั้งในแง่ Coverage รวมถึงการสร้างบุคลากร อีโคซิมเต็มพาร์ทเนอร์และอื่น ๆ สำหรับเป้าหมายในปีนี้เอไอเอสมีแพลนในการเพิ่ม Coverage ให้มากขึ้นจากสถานีฐานครอบคลุม 76% ของประชากรทั่วประเทศ ให้ครอบคลุมเพิ่มขึ้นเป็น 85% ของประชากรภายในสิ้นปีนี้

และจะเห็นได้ว่าเอไอเอส AIS Business  สามารถนำจุดแข็งของ AIS 5G ที่มีความครอบคลุมในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑลถึง 99% และครอบคลุม 90% ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) มาพัฒนาโซลูชันเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการได้ทุกภาคอุตสาหกรรม โดยเมื่อมองจากปีที่ผ่านมา เอไอเอสได้สร้าง Impact 5G infrastructure solution ด้วยการเปิดตัวหลาย ๆ เซอร์วิซ ที่ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการ 5G Private Netwotk เทคโนโลยี Multi-Access EDGE Computing เพื่อรองรับการเชื่อมต่อดีไวซ์พร้อม ๆ กันได้ในจำนวนมาก สำหรับ Network Slicing จะทำให้การใช้งาน 5G มีความเสถียรยิ่งขึ้น ด้วยการแบ่งชาแนลออกมาเพื่อใช้งานในแบบ Workload เพื่อไม่ให้ไปกระทบกับแบนด์วิดท์ที่อยู่ในโครงข่ายเดียวกัน สำหรับ 5G FWA (Fixed Wireless Access) ถือว่าเป็นโซลูชันที่ตอบโจทย์ภาพอุตสาหกรรมได้ตรงจุด เพราะสามารถใช้งานโครงข่ายความเร็วสูงได้แบบสะดวกง่ายดายโดยไม่ต้องเสียเวลาเดินสายนั่นเอง

สำหรับปีนี้เอไอเอสจะโฟกัสไปที่ Horizontal Solution และ Vertical Solution โดยนำเทคโนโลยี AR/VR, Video Analytic, AI รวมถึง Data จาก IoT และโซลูชันต่าง ๆ ที่มีมา Apply เพื่อสร้างโซลูชันใหม่ ๆ ให้สามารถตอบทุกโจทย์ความต้องการของลูกค้า 

 

สัมผัส 5 กลยุทธ์ในการทรานส์ฟอร์มสู่ Cognitive Telco

สำหรับกลยุทธ์แรก เอไอเอสให้ความสำคัญกับการเชื่อมต่อ 5G Ecosystem ที่นำเสนอการเชื่อมต่อโครงข่าย 5G ให้สามารถรองรับการทำงานกับภาคธุรกิจ ผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ  เพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการทำงาน การบริหารต้นทุน ด้วยการนำเทคโนโลยีอย่าง AR/VR, Robotic, AI และ IoT  ไปใช้งานได้อย่างเหมาะสม พร้อมขยายความร่วมมือกับพันธมิตร ทั้งภาครัฐและเอกชนอย่างใกล้ชิด เพื่อให้เกิดอีโคซิสเต็มที่สมบูรณ์

 

2. เอไอเอสเป็นผู้ให้บริการด้านการเชื่อมต่อที่ครบวงจรทั้งเครือข่ายใยแก้วนำแสงและเครือข่ายไร้สายสำหรับลูกค้าองค์กร ด้วย Gateway ที่สามารถเชื่อมต่อทั้งแบนด์วิธในประเทศและต่างประเทศได้แบบครบวงจร อีกทั้งยังมีทีมงานที่เชี่ยวชาญ จึงสามารถรองรับความต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตแบนด์วิดท์ที่สูงขึ้น พร้อมตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าตามรูปแบบและพฤติกรรมของการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

3. มุ่งเสริมความสมบูรณ์ของโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและแพลตฟอร์ม ด้วยการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ชั้นนำทั้งในไทย และระดับโลกมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เอไอเอสสามารถส่งมอบโซลูชันใหม่ ๆ อย่าง โซลูชันคลาวด์ ไปยังผู้ประกอบการรายย่อย ซึ่งเป็นการเปิดประสบการณ์ใหม่ ที่ไม่ได้เจาะจงเฉพาะอุตสาหกรรมรายใหญ่แต่เพียงอย่างเดียว นอกจากนี้เอไอเอสยังให้ความสำคัญในการขยายผลการให้บริการลูกค้าองค์กรในฐานะผู้ให้บริการด้านดิจิทัลแพลตฟอร์มด้าน CCII ที่ครอบคลุมเทคโนโลยีที่ครบครัน ทั้งบริการความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security) บริการ IoT (Internet of Things) และบริการด้านไอซีทีโซลูชัน (ICT Solution)

 

4. ในยุคที่ Big Data มีความสำคัญในการเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถแข่งขันของธุรกิจในปัจจุบัน AIS Business เป็นองค์กรที่มี Business Big Data ที่พร้อมนำประสบการณ์ด้านงานดูแลลูกค้าทั่วไป มาเสริมกับการใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจ เพื่อสร้างโอกาสทางการแข่งขัน รวมถึงอาวุธใหม่ ๆ สำหรับการสื่อสารทางการตลาดที่จะสร้างยอดขายและการเติบโตได้มากยิ่งขึ้น ภายใต้เงื่อนไขความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวและการนำข้อมูลของลูกค้าไปใช้งาน

 

5. ข้อสุดท้ายแต่เป็นข้อที่สำคัญมาก ๆ  เอไอเอสให้ความสำคัญกับคุณภาพของบุคลากรไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าในด้านเทคโนโลยี ส่งผลให้มีการดึงซีเอส ล็อกซอินโฟ หรือ CSL เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการทำงาน ทำให้วันนี้ AIS Business เป็นผู้ให้บริการเพียงรายเดียวในตลาดที่มีความพร้อมสูงสุด มีบุคลากรในสายงาน ICT ที่เชี่ยวชาญและรอบด้าน อีกทั้งยังมีเป้าหมายในการสร้างและ Reskill บุคลากร โดย certify ที่จะพัฒนาความสามารถของบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางเทคโนโลยีเฉพาะทางเพิ่มขึ้นอีก 3 เท่าในปีนี้ เพื่อตอบโจทย์องค์กรธุรกิจมีความต่อเนื่อง แม่นยำ และมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่การให้คำปรึกษา ประเมิน ติดตั้ง บริหารโครงการ และบริการหลังการขายอย่างมืออาชีพ

 

นอกจากนี้ AIS Business ยังเล็งเห็นความสำคัญของผู้ประการรายย่อยหรือ SME ซึ่งถือว่าเป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ AIS Business จึงได้ส่งแพลน “AIS SME 7S” ในการเข้าไปสนับสนุนผู้ประกอบด้วยโซลูชันและบริการที่ออกแบบมาเพื่อธุรกิจ SME  โดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็น AIS SME Digital Marketing Services ผู้ช่วยทำการตลาดแบบออนไลน์, AIS SME IT & Digital Solutions ผู้ช่วยดูแลและพัฒนาระบบไอทีหลังบ้าน, สำหรับ AIS SME Internet Services จะเป็นการให้บริการอินเทอร์เน็ตที่สอดคล้องแก่ลูกค้า และ AIS SME Mobile Services จะเป็นบริการในด้านสื่อสารสำหรับธุรกิจ

สำหรับ AIS SME Full e-Services จะเข้ามาดูแลในส่วนของระบบ billing ทั้งออฟไลน์และออนไลน์ ส่วน AIS SME Special Privileges จะช่วยต่อยอด เพิ่มมูลค่าในการทำธุรกิจผ่านสิทธิพิเศษต่าง ๆ สุดท้าย AIS SME Strategic Partnershi จะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการได้สร้างความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับพันธมิตรใหม่ ๆ ทั้งในและต่างประเทศ

แม้ปีนี้จะมีการแข่งขันอย่างสูงทั้งจากคู่แข่งใน Industry เดียวกันและผู้เล่นจากนอก Industry แต่ AIS Business ยังมีความเชื่อมั่นในการนำโซลูชันที่เป็นจุดแข็งอย่างโครงข่าย 5G และเทคโนโลยีที่วางโครงสร้างพื้นฐานไว้อย่างแข็งแกร่ง มาผสานเข้ากับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็น AI หรือ Metaverse เพื่อเข้าไปช่วยผู้ประกอบการธุรกิจให้สามารถนำโซลูชันเข้าไปทรานส์ฟอร์มธุรกิจ ตั้งแต่ระดับ SMEs จนถึงผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั่วประเทศ และแน่นอนสิ่งเหล่านี้จะเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพลักดันให้เอไอเอส ยกระดับตัวเองจากผู้ให้บริการดิจิทัลสู่การเป็น Cognitive Telco หรือองค์กรโทรคมนาคมอัจฉริยะ ซึ่งจะทำให้ภารกิจในการนำเทคโนโลยีเข้าช่วยการทรานสฟอร์มให้ภาคธุรกิจมีเครื่องมือและขีดความสามารถจะสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันเป็นไปตามเป้าหมาย รวมถึงวิสัยทัศน์ใหม่ของเอไอเอสในครั้งนี้จะเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญที่จะทำให้เครื่องยนต์เศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศมีการเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง ท่ามกลางความท้าทายในอนาคตได้อย่างแน่นอน

 

 

 

 

 

 

Facebook Comments

Related Posts