จากข้อมูลของ Opensignal ผู้ดำเนินการวิเคราะห์ระบบมือถือและกำหนดมาตรฐานระดับโลกเผยรายงานประสบการณ์เครือข่ายมือถือของประเทศไทย ในเดือนพฤศจิกายน 2565 พบว่า AIS คือผู้ที่ได้รับรางวัลมากที่สุด โดยไม่มีใครล้มแชมป์ด้านความเร็วของ AIS ได้ ทั้งนี้ AIS ยังคว้าแชมป์ทุกรายการในหมวดหมู่ด้านความเร็วทั้งแบบโดยรวมและ 5G ซึ่งยังคงรั้งแชมป์ในรางวัลที่ได้รับครั้งก่อนหน้าประกอบด้วย ด้านความเร็วในการดาวน์โหลด 5G ความเร็วในการอัปโหลด 5G และประสบการณ์ความเร็วในการดาวน์โหลดไว้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ รวมถึง AIS ยังชนะรางวัลด้านความเร็วในการดาวน์โหลด 5G ไปด้วยความเร็ว 156.4 Mbps ซึ่งเร็วกว่า TrueMove H ถึง 55.8%
ณ ปัจจุบันการให้บริการเครือข่าย 5G ในบ้านเรา จะใช้ย่านความถี่ 5G อยู่สองประเภท ประกอบด้วยย่านความถี่ n28 (700MHz) และย่านความถี่ n41 (2.6 GHz) โดยแบบแรกจะให้ความถี่ครอบคลุมในช่วงกว้างกว่าและแบบที่สองจะให้ความจุข้อมูลสูงกว่า ซึ่งเมื่อย้อนกลับไปก่อนการควบรวมระหว่าง DTAC และ TrueMove H จะเห็นว่าผู้ใช้เครือข่าย DTAC ได้รับประสบการณ์ใช้งานความเร็ว 5G ในระดับที่ต่ำมาก เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ให้บริการเครือข่ายอีกสองรายในประเทศไทย สืบเนื่องจาก DTAC เป็นค่ายเดียวที่ให้บริการ 5G ในย่านความถี่ 700 MHz เท่านั้น ขณะที่ AIS และ TrueMove H เป็นผู้ถือครองกรรมสิทธิ์ความถี่ 100 MHz และ 90 MHz ส่งผลให้การให้บริการ 5G ของทั้ง 3 ค่าย มีความแตกต่างที่ค่อนข้างชัดเจน ส่วนในด้านความเร็วความครอบคลุมการใช้งาน 5G ของทั้ง 3 ค่ายก่อนที่จะควบรวมฯ อย่างเป็นทางการ สามารถดูผลเปรียบเทียบได้ที่นี่ >>> https://bit.ly/3O7ss2z
ล่าสุด Opensignal ออกมาเผยข้อมูลที่น่าสนใจ โดยได้เปรียบเทียบประสบการณ์การเชื่อมต่อ 5G ของผู้ใช้สมาร์ตโฟนบนเครือข่ายมือถือของผู้ให้บริการต่าง ๆ ของประเทศไทยในเดือนธันวาคม 2565 และเดือนมีนาคม 2566 ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนและหลังการสิ้นสุดการควบรวมกิจการระหว่างกระบวนการ DTAC และ TrueMove H โดยมีไฮไลท์ในด้านความเร็ว 5G ของ DTAC พบว่ามีความเร็วที่สูงขึ้นจากการที่สามารถเข้าใช้งานย่านความถี่ 2.6 GHz ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของ TrueMove H ส่งผลให้ความเร็ว 5G โดยรวมของ DTAC มีความเร็วสูงขึ้นประมาณ 2.8 เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับการให้บริการ 5G บนย่านความถี่ 700 MHz ที่ DTAC ถือครองและให้บริการมาก่อนสิ้นสุดการควบรวม ฯ
ในขณะที่ทาง TrueMove H เองก็เกิดความเปลี่ยนแปลงเช่นกัน โดยความเร็วในการดาวน์โหลด 5G ของ TrueMove H บนความถี่ 2.6GHz นั้นลดลงจากในเดือนธันวาคม 2565 ที่ 102.5Mbps เหลือเพียง 83.9Mbps ในเดือนมีนาคม 2566 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการใช้ย่านความถี่ 2.6GHz ร่วมกันของทั้งสองบริษัทนั่นเอง
ซึ่งเมื่อมองในภาพรวมจากข้อมูลล่าสุดของ Opensignal ที่ถึงแม้การควบรวมของ DTAC และ TrueMove H จะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอยู่บ้าง แต่เอไอเอสยังคงเป็นผู้ให้บริการเครือข่าย ที่มอบประสบการณ์การเชื่อมต่อ 5G ด้วยความเร็วเฉลี่ยสูงสุดด้วยคลื่นความถี่ 42.7 MHz เหนือกว่า DTAC และ TrueMove H ทั้งบนย่านความถี่ n41 (2.6GHz) และ n28 (700MHz) รวมถึงความเร็วโดยรวม (Overall) อีกด้วย
บทสรุป
จากการควบรวมฯ ระหว่าง DTAC และ TrueMove H แน่นอนว่าย่อมก่อให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบในบางแง่มุมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่การใช้ทรัพยากรร่วมกันก็อาจส่งผลที่ไม่ใช่เชิงบวกเสมอไป ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าการที่ DTAC เปลี่ยนจากความถี่ 700MHz (n28) มาเป็น 2.6 GHz (n41) จะได้ความเร็วที่เพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด แต่ในขณะเดียวกันความเร็ว 5G บนคลื่น 2.6 GHz (n41) ของ TrueMove H ก็ดรอปลงอย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน ซึ่งเมื่อมองจากภาพรวมแล้ว AIS ยังคงรักษาตำแหน่งเบอร์ 1 ของผู้ให้บริการโครงข่าย 5G ไว้อย่างเหนี่ยวแน่น ทั้งในด้านความเร็ว ความครอบคลุม ฯลฯ จนสามารถครองรางวัลในรายงานประสบการณ์เครือข่ายมือถือของประเทศไทยจาก Opensignal ที่เผยแพร่เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2565 รวมถึงผลคะแนนล่าสุดของเดือนมีนาคม 2566 ส่วน DTAC และ TrueMove H จากกรณีการควบรวมกิจการที่ทำให้มีกรรมสิทธิ์ในคลื่นความถี่และโครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนฐานผู้ใช้ที่มากขึ้น ทำให้บริษัทกลายเป็นคู่แข่งสำคัญของ AIS ในด้านประสบการณ์เครือข่ายมือถือที่น่าจับตามอง แต่ด้วยประสบการณ์และความเป็น leader ของอุตสาหกรรมด้านโครงข่ายมาอย่างยาวนาน เชื่อว่าเอไอเอสจะยังคงรักษาความเป็นเบอร์ 1 ของผู้ให้บริการโครงข่ายไว้ได้อย่างแน่นอน